วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หลักการดูดาวเบื้องต้น






 
หลักการดูดาวเบื้องต้น       
      1. ดูในคืนข้างแรม หรือคืนเดือนมืด
      2. ปราศจากแสงภาคพื้นรบรวนเช่นแสงไฟฟ้า ต่าง ๆ
      3. ปราศจากเมฆหมอกบดบัง
      4. ดูในที่โล่งแจ้ง ปราศจากสิ่งบดบังสายตาภาคพื้นดิน เช่นต้นไม้ อาคารบ้านเรือน
      5. มองหาความแตกต่าง ของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์
ดาวเคราะห์
      1. ไม่มีแสงในตัวเอง แต่ปรากฏเห็นได้เพราะอาศัยแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์
      2. เคลื่อนที่อยู่ในแถบกลุ่มดาวจักรราศีเมื่อเที่ยบกับดาวดวงอื่น
      3. ตำแหน่งขึ้น - ลง ในแต่ละวันไม่คงที่
      4. ความสว่าง ไม่คงที่ เพราะระยะทางระหว่างโลกและดาวเคราะห์ เปลี่ยนตำแหน่ง อยู่ตลอดเวลา
ดาวฤกษ์
      1. มีแสงสว่างในตัวเอง
      2. มีแสงระยิบระยับ
      3. อยู่เป็นกลุ่มไม่เคลื่อนที่ เรียงกันอยู่อย่างไรก็เป็นเช่นนั้น ไม่มีการเปลี่ยนตำแหน่ง ดาวแต่ละดวงในกลุ่มจะปรากฏสว่างต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง
      4. ตำแหน่งขึ้น - ลง และแนวทางการขึ้น - ตกไม่เปลี่ยนแปลง
      5. ความสว่างคงที่

การขึ้น - ตกของดวงดาว
      ประเทศไทย ตั้งอยู่ในซีกโลก ภาคเหนือ ประมาณระหว่าง ละติจุดที่ 6 ถึง 20 องศาเหนือ จึงสามารถ มองเห็น กลุ่มดาว ในซีกโลกเหนือ ทั้งหมด และกลุ่มดาวซีกโลกใต้ เห็นเป็นส่วนใหญ่ มีไม่กี่กลุ่มที่ สามารถ มองเห็นได้ เราสามารถ ศึกษา และสังเกตุการณ์ เกี่ยวกับการขึ้น และตกของดวงดาว ได้ตั้งแต่ แสงสนธยา ได้หายไป จากของฟ้า หลังจาก ดาวอาทิตย์ลับขอบฟ้า ไปแล้ว 18 องศา หรือประมาณ 50 นาที จนระทั่งแสงเงินแสงทอง เริ่มจับขอบฟ้า ทางทิศตะวันออก ดาวเคราะห์ เพื่อนบ้านของเราเช่น ดาวพุธ และดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์วงใน มีวงโคจรน้อยกว่า โลกของเรา ดาวพุธจะเห็นทางทิศตะวันออก ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น หรือทางทิศตะวันตก หลังจาก ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ห่างจากดวงอาทิตย์ ไม่เกิน 28 องศา และจะเห็นได้นานประมาณ 1 ชั่งโมงครึ่ง ดาวศุกร์ จะเห็น ปรากฏก่อนดวงอาทิตย์ ขึ้นทางทิศตะวันออก คนไทยเรียก ดาวรุ่งหรือ ดาวประกายพฤกษ์ ถ้าเห็นห่างจาก ดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47 องศา เห็นนานประมาณ 3 ชั่วโมง
ซีกฟ้าเหนือ
      กลุ่มดาวจักรราศี หมายถึง กลุ่มดาวฤกษ์จำนวน 12 กลุ่ม ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ออกไปซึ่งเมื่อมองผ่านจากโลกในระยะเวลาต่าง ๆ กัน ตลอดปีจะเห็นกลุ่มดาวเหล่านี้ ปรากฏอยู่ทางเบื่องหลังแตกต่างกันไปตาม ช่วงเวลาของเดือน ด้วยรปรากฏการเช่นนี้ มนุษย์จึงได้แบ่งกลุ่มดาวฤกษ์ที่อยู่มาแนวทางเดิน ของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า เส้นสุริยะวิถี ออกเป็น 12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มอยุ่ห่างกันช่วงละ 30 องศา เรียกว่า 1 ราศี อยู่ในท้องฟ้าซีกเหนือ 6 กลุ่ม ท้องฟ้าซีกใต้ 6 กลุ่ม ดังนี้ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิก! ที่นี่

1. กลุ่มดาวปลา ( PISCES )
      ประจำเดือนมีนาคม เกี่ยวข้องกันราศีมีน กล่มดาวปลา มีรูปลักษ์คล้ายปลาสองตัว ตัวหนึ่งอยู่ถัดจากรูปสี่เหลี่ยมในกลุ่มดาวม้าปีก ไปทางใต้อีกตัวหนึ่งอยู่ถัดไปทางทิศตะวันออก ปลาทั้งคุ่ มีสายเชื่อมโยงต่อกันถึงได้ ประกอบด้วยดาวฤกษ์ประมาณ 15 ดวง ดวงอาทิตย์ จะปรากฏผ่านในกลุ่มดาวปลา ระหว่างวันที่ 13 มีนาคม - 19 เมษายน ดวงอาทิตย์จะอยู่บนเส้นศูนย์สูตรฟ้าพอดี ในวันที่ 21 มีนาคม จะเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ ขึ้นทางทิศตะวันออกพอดี และตกทางทิศตะวันตกพอดี เรียกว่า วัน อิควิคนอกซ์ ( Equinox ) กลางวันยาวกว่ากลางคืน กลุ่มดาวปลาจะปรากฏอยุ่บนท้องฟ้า นาน 9 ชั่วโมง

 2. กลุ่มดาวแกะ ( ARIES )
      ประจำเดือนเมษายน เกี่ยวข้องกับราศีเมษ กลุ่มดาวแกะ อยู่ถัดจากกลุ่มดาวปลาไปทางทิศตะวันออก ดวงอาทิตย์จะานกลุ่มดาวแกะระหว่างวันที่ 19 เมษายน - 14 พฤษภาคม ประกอบด้วยดาวฤกษ์ 4 ดวง เป็นอย่างน้อย โดย 3 ดวงแรก เป็นหัวและดวงสุดท้ายเป็นบริเวณสะโพกแกะ กลุ่มดาวแกะจะขึ้นทางจุดทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือประมาณ 22.5 องศา และจะปรากฏบนฟ้านานวันละประมาณ 12 ชั่วโมง

3. กลุ่มดาววัว ( TAURUS )
      ประจำเดือนพฤษภาคม เกี่ยวข้องกับราศีพฤษภ กลุ่มดาววัวจะปรากฏขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือ สังเกตง่าย เพราะปรากฏอยู่เหนือศรีษะ ในท้องฟ้าประเทศไทย ประกอบด้วยดาวฤกษ์ ประมาณ 9 ดวง ดาวที่เรียงกันเป็นรูปตัว วี ( V ) คนไทยเรียกดาวไม้ค้ำเกวียน หรือดาวธง กระจุกดาวลูกไก่ เป็นส่วนหนึ่ง ของราศีพฤษภ ด้วย ดวงอาทิตย์จะปรากฏ ผ่านกลุ่มดาววัวระหว่าง วันที่ 14 พฤษภาคม - 21 มิถุนายน ดาวฤกษ์ที่ส่องสว่างที่สุดในกลุ่มชื่อ ดาวอัลดิบาแรน เป็นดาวฤกษ์สีส้ม เป็นส่วนของตาวัว คนไทยเรียก ดาวโรหิณี มีความหมายว่า ผุ้ติดตาม เพราะเป็นดาวที่ตามหลังดาวลูกไก่ ดาวที่เรียงกัน เป็นรูปหน้าวัว แต่ไม่รวมตาวัว เรียกว่า กระจุกดาวไฮแอดส์ เป็นกระจุกดาวเปิด

4. กลุ่มดาวคนคู่ ( GEMINI )
      ประจำเดือนมิถุนายน เกี่ยวข้องกับราศีมิถุน กลุ่มดาวคนคุ่ อยู่ถัดจากดาววัว ไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วย ดาวฤกษ์อย่างน้อย 8 ดวง เรียงเป็นรูปคนคู่ หรือฝาแฝด ดาวที่สว่าง ที่สุดในกลุ่มชื่อ พอลลักษ์ และคาสเตอร์ เป็นดาวแฝดหก ดวงอาทิตย์ จะปรากฏผ่านในกลุ่มนี้ระหว่าง วันที่ 21 มิถุนายน ถึงวันที่ 21 กรกฏาคม ในวันที่ 21 มิถุนายน จะเป็นวันที่กลางวันยาวที่สุด เป็นดาวเห็นชัดเจนตลอดคืน ในฤดูหนาว โดยเฉพาะ เดือน มกราคมจะเห็นตลอดคืน คนไทยจิตนาการกลุ่มดาวกลุ่มนี้คล้ายโลงเก็บศพ จึงเรียกดาวโลง

5. กลุ่มดาวปู ( CANCER )
      ประจำเดือนกรกฏาคม เกี่ยวข้องกับราศีกรกฏ กลุ่มดาวปู เป็นกลุ่มดาวที่อยู่ถัดจากกลุ่มดาวคนคุ่ ไปทางทิศตะวันออก ดวงอาทิตย์ จะปรากฏผ่านระหว่าง วันที่ 21 กรกฏาคม - 11 สิงหาคม ประกอบด้วย ดาวฤกษ์ ประมาณ 5 ดวง ไม่มีดาวฤกษ์ดวงใดสว่างชัดเจน สามารถมองเห็นได้ในต้นเดือน กุมภาพันธ์ตลอดคืน ในกลุ่มดาวปูนี้ จะมีฝ้าขาว ๆ อยู่เรียกว่า กระจุกดาวรังผึ้ง มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในคืนเดือนมืด คนไทยเรียกกระจุกดาวปุยฝ้าย เป็นกระจุกดาวเปิดประกอบด้วยดาวฤกษ์ เกือบร้อยดวง

6. กลุ่มดาวสิงห์โต ( LEO )
      ประจำเดือนสิงหาคม เกี่ยวข้องกับราศีสิงห์ กลุ่มดาวสิงห์โต ประกอบด้วยดาวฤกษ์ อย่างน้อย 9 ดวง ดาวที่สว่างที่สุด ชื่อดาว เรกิวรูส หรือ หัวใจสิงห์ เป็นดาวฤกษ์ สีน้ำเงินขาว ตรงหางสิงห์เป็นรุปสามเหลี่ยมมีดาวสว่าง ตรงหางสิงห์ ชื่อ ดีเนปบอรา หรือกลุ่มดาวหางสิงห์ กลุ่มดาวตรงหัวสิงห์โต คนไทยเรียก ดาวเคียวเกี่ยวข้าว ดวงอาทิตย์จะปรากฏผ่าน กลุ่มดาวสิงห์โต ระหว่าง วันที่ 11 สิงหาคม - 17 กันยายน กลุ่มดาวสิงห์โต จะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือ เล็กน้อย หางสิงห์โตชี้ไปยัง ดวงรวงข้าวทางตะวันออก ทุกคืนวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 3 ดวงจันทร์จะปรากฏเต็มดวง บริเวณ หัวใจสิงห์โต ทุกปีจึงเรียกว่า หมุ่ดาวนักษัตร หรือ นักขัตฤกษ์ ที่เรียกว่า มาฆฤกษ์

ซีกฟ้าใต้
7. กลุ่มดาวหญิงสาวพกรหมจารี ( VIRGO )
      กลุ่มดาวประจำเดือนกันยายน เกี่ยวข้องกับราศีกันย์ กลุ่มดาวหญิงสาวพรหมจารี ประกอบด้วยประมาณ 11 ดวง เรียงเป็นรูปหญิงสาว มีดาวฤกษ์ สว่าง 6 ดวง เรียงเป็นรูปตัวอักษร Y ในภาษาอังกฤษ เป็นส่วนของหน้าอก และศรีษะ ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดชื่อดาว ดาวสไปกา แปลว่า ข้าวสาลี ที่หญิงสาวถือไว้ในมือซ้าย คนไทยเรียก ดาวรวงข้าว เป็นดาวฤกษ์สีขาว มีอันดับความสว่าง 0.97 เห็นสว่างสุกใสในช่วงฤดู เก็บเกี่ยว คนไทยเรียก แม่โภสพ สากลเรียก เทพีแห่งการเกษตร ดวงอาทิตย์ปรากฏผ่านระหว่างวันที่ 17 กันยายน - 1 พฤศจิกายน ขึ้นปรากฏ ให้เห็นในเดือนมิถุนายน ชัดเจน จะขึ้นทางทิศตะวันออกพอดี และตกทางทิศตะวันตกพอดี เป็นกลุ่มดาวที่เห็นชัดเจน ตอนหัวค่ำ จะอยู่กลางฟ้าต่ำจากจุดเหนือศรีษะ ไปทางใต้ ประมาณ 30 องศา เป็นกลุ่มดาวที่ดวงอาทิตย์ ผ่านใช้เวลานานที่สุด นาน 46 วัน เมื่อถึงวันเพ็ญ 15 ค่ำเดือน 5 ดวงจันทร์ จะปรากฏสว่าง เต็มดวงตรงดาวรวงข้าว พอดี จึงเรียกว่า เป็นหมู่ ดาวนักขัตฤกษ์ ที่มีชื่อว่า จิตรฤกษ์

8. กลุ่มดาวคันชั่ง ( LIBRA )
      ประจำเดือนตุลาคม เกี่ยวข้องกับราศีตุล กลุ่มดาวคันชั่ง เป็นกลุ่มดาวที่มีชื่อเป็นสิ่งของเพียงกลุ่มเดียวบนท้องฟ้า จะขึ้นทางจุดทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไปทางใต้ 25 องศา เมื่อขึ้นไปสุงสุด จะอยู่ทางทิศใต้เป็นมุมเงย 60 องศา อยู่ถัดหัวแมงป่อง ไปทางทิศตะวันตก ประกอบด้วยดาวริบหรี่ อย่างน้อย 6 ดวง เรียงกันคล้ายรูปว่าวปักเป้า มีหางงอ ดวงอาทิตย์จะผ่านกลุ่มดาวคันชั่ง ในเดือนตุลาคม ระหว่างวันที่ 1 - 21 พฤศจิกายน มองเห็นไม่ชัดเจนบนท้องฟ้า เห็นนานตลอดคืนในเดือน พฤษภาคม

9. กลุ่มดาวแมงป่อง ( SCOPIUS )
      ประจำเดือนพฤศจิกายน เกี่ยวข้องกับราศีพฤศจิก กลุ่มดาวแมงป่อง เป็นกลุ่มดาวที่มีดาวฤกษ์ เรียงตัวเห็นปรากฏ เป็นรูปแมงป่อง ชัดเจนมาก ปรากฏอยู่ทางตะวันตกของกลุ่มดาวคนยิงธนู มีชื่อเป็นภาษาลาตินว่า Scopius ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษ ว่า Scopion แปลว่า แมงป่อง เป็นกลุ่มดาวซึ่งขึ้นปรากฏ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยเอาหัวขึ้นก่อน เมื่อขึ้นสูงสุด จะอยู่ทางทิศใต้ คือกลางตัวแมงป่อง อยู่สูงเป็นมุมเงย 45 องศา และตกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และเอาหัวและข้างลงก่อน ดวงอาทิตย์จะผ่านกลุ่มดาวแมงป่อง ระหว่าง วันที่ 23 - 30 พฤศจิกายน กลุ่มดาวแมงป่องจะประกอบด้วย ดาวฤกษ์ที่เรียงตัวกันอย่างน้อย 15 ดวง สามดวงแรก เป็นส่วนหัว ถัดไปอีก 4 ดวงเป็นลำตัว และที่เหลือเป็นส่วนหาง สำหรับประเทศไทย จะเห็นกลุ่มดาวแมงป่องชัดเจน เพราะปรากฏอยู่เหนือขอบฟ้า นานเกือบ 8 ชั่วโมง ดาวแต่ละดวงในกลุ่มจะมีสีและปรากฏสว่างไม่เท่ากัน ดาวดวงที่สว่างที่สุด ชื่อ แอนทาเรส แปลว่า คู่แข่งของดาวอังคาร มีสีแดง เป็นดาวแปลแสง แฝดคู่ขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 700 เท่าของดวงอาทิตย์ คนไทยเรียกดาวฤกษ์สีแดงดวงนี้ว่า ดาวปาริชาต อันดับความสว่าง 0.9

10. กลุ่มดาวคนยิงธนู ( SAGITTARIUS )
      ประจำเดือนธันวาคม เกี่ยวข้องกับราศีธนู กลุ่มดาวคนยิงธนู ประกอบด้วยดาวฤกษ์ เรียงตัวอย่างน้อย 8 ดวง เรียงอยู่คล้ายกาต้มน้ำ ไม่มีดาวดวงใดเด่นชัดเจน เมื่อขึ้นไปสูงสุดจะอยู่เหนือขอบฟ้า เป็นมุมเงย 45 องศา คนไทยจินตนาการ เหมือนกาต้มน้ำ สากลเรียก กลุ่มดาวคนยิงธนู ดวงอาทิตย์จะผ่านกลุ่มดาวคนยิงธนูระหว่าง วันที่ 19 ธันวาคม - 21 มกราคม กลุ่มดาวนี้ จะอยู่ตรงใจกลาง กาแล็กซี่ทางช้างเผือก

11. กลุ่มดาวแพะทะเล ( CAPRICORNUS )
      ประจำเดือนมกราคม เกี่ยวข้องกับราศีมังกร กลุ่มดาวแพะทะเล ประกอบด้วย ดาวฤกษ์เรียงตัวกัน อย่างน้อย 9 ดวง เป็นรูป สามเหลี่ยมด้านโค้ง มองเห็นไม่ชัดเจนนัก เวลาขึ้นปรากฏจะอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้ 20 องศา เมื่อขึ้นไปสูงสุดจะอยุ่ทางขอบฟ้า ทิศใต้เป็นมูมเงย 55 องศา ดวงอาทิตย์จะผ่านกลุ่มดาวมังกร ระหว่างวันที่ 21 มกราคม - 16 กุมภาพันธ์ กลุ่มดาวมังกร จะปรากฏอยู่เหนือขอบฟ้านานประมาณ 10 ชั่วโมง

12. กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ( AQUARIUS )
      ประจำเดือนกุมภาพันธ์ เกี่ยวข้องกับราศีกุมภ์ กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ประกอบด้วยดาวฤกษ์แสงริบหรี่อย่างน้อย 13 ดวง มองเห็นไม่ชัดเจน ดวงอาทิตย์จะปรากฏผ่านกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ระหว่างวันที่ 16 กุมภาพันธ์ - 13 มีนาคม เวลาขึ้นปรากฏจะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้ ประมาณ 60 องศา และปรากฏ อยู่บนฟ้านานประมาณ 10 ชั่วโมง ในสมัยอียิปโบราณ เห็นดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวนี้ ทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นช่วงเข้าสุหน้าฝน จึงเห็นเสมือนหนึ่งว่ามีคนแบกหม้อน้ำ มาแทจึงให้ชื่อกลุ่มดาวนี้ ว่า คนแบกหม้อน้ำ







7 ความคิดเห็น:

  1. ชอบเรื่องดาวมากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  2. ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากเลยย^^

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  4. มีประโยชน์มากเรยค่ะ

    ตอบลบ
  5. ตัวหนังสือเล็กไปนะคับ แต่ผมชอบกลุ่มดาวแกะอะ

    ตอบลบ
  6. การดูดาวมันก้มีเวลาช่วงของมันว่าเราควรจะดูตอนไหน เวลาไหน ใช่ไหมคะ

    ตอบลบ